คำอธิษฐาน 10 ประการ
แรงอธิษฐาน
ธรรมคือแรงใจ
คำอธิษฐาน 10 ประการ
สำนักพิมพ์เอกอนันต์บุ๊ค
Tel : 034-246644
Mobile : 085-0658236, 089-6726781
Fax : 034-246644
email : 96rangjai@gmail.com
โลโก้เอกอนันต์
    บุคคลหรือหน่วยงานใดสนใจจัดพิมพ์หนังสือธรรมะเผยแพร่เพื่อแจกจ่ายเป็นธรรมทานแก่วัด  ห้องสมุด  โรงเรียน  โรงพยาบาล สถานสงเคราะห์  ทัณฑสถาน ฯ หรือใช้ในโอกาสอันเป็นมงคลในชีวิตท่าน  เช่น วันเกิด   ทำบุญบ้าน  กฐิน  ผ้าป่า  วันขึ้นปีใหม่  งานเกษียณอายุราชการ  งานศพ  สร้างอุทิศส่วนกุศล  สะเดาะเคราะห์  หรือแจกจ่ายในงาน มงคล-อวมงคลต่างๆ
    อนึ่ง  ทางรสำนักพิมพ์มีความยินดีในกุศลเจตนาของท่านผู้มีใจอนุเคราะห์ช่วยเหลือกล่อมเกลาจิตใจของชาวโลกด้วยกุศโลบายอันพระพุทธองค์ได้ทรงสรรเสริญแล้ว ทั้งนี้ ทางสำนักพิมพ์ขอร่วมอนุโมทนาบุญ โดยให้ความสะดวกในด้านบริการในราคาพิเศษและจัดส่งตามรายการสั่ง  ไม่ว่าซื้อน้อย-ซื้อมาก  ในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด  ทางสำนักพิมพ์ยินดีให้บริการแก่ทุกท่าน
96 ธรรมคือแรงใจ
จิตเดิมแท้ของเรานั้นทุกคนนั้นมาจากธรรมชาติอันบริสุทธิ์
Copyright (c) 2010 All Rights Reserved.
ขออย่าให้ข้าพเจ้า...เป็นคนคิดจะได้ดีอะไรอย่างลอย ๆ ...นั่งนอนคอยแต่โชควาสนา โดยไม่ลงมือทำความดี ... หรือไม่เพียรพยายาม สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตน ... ถ้าข้าพเจ้าจะได้ดีอะไร...ก็ขอให้ได้เพราะทำได้ทำความดีอย่างสมเหตุผลเถิด...
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
ขออย่าให้ข้าพเจ้า...เป็นคนลืมตน...ดูหมิ่นเหยียดหยามใคร ๆ ...ซึ่งอาจด้อยกว่าในทางตำแหน่ง... ฐานะการเงิน... หรือในทางวิชาความรู้...

ขอให้ข้าพเจ้ามีความเห็นอกเห็นใจคนอื่น... ให้เกียรติแก่เขาตามความเหมาะสมในการติดต่อเกี่ยวข้องกันเถิด...อย่าแสดงอาการข่มขู่เยาะเย้ยใครๆ... ด้วยประการใดๆเลย... ก็ขอให้มีความอ่อนโยน... นุ่มนวล... สุภาพเรียบร้อยเถิด...

ถ้าใครพลาดพลั้งลงในการครองชีวิต...หรือต้องประสบความทุกข์... ความเดือดร้อนเพราะเหตุใดๆ ก็ตาม... ขออย่าให้ข้าพเจ้า...เหยียบย่ำซ้ำเติมคนเหล่านั้น... แต่จงมีความกรุณาหาทางช่วยเขาลุกขึ้น... ช่วยผ่อนคลายความทุกข์ร้อนแก่เขา...เท่าที่จะสามารถทำได้...
ใครก็ตาม...ที่มีความรู้ความสามารถขึ้นมาเท่าเทียม...หรือเกือบเท่าเทียมข้าพเจ้าก็ดี... มีความรู้ความสามารถ...หรือมีผลงานอันปรากฏดีเด่น... สูงส่งอย่างน่านิยมยกย่องยิ่งกว่าข้าพเจ้า... ขออย่าให้ข้าพเจ้า...รู้สึกริษยาหรือกังวลใจ...ในความเจริญของผู้นั้นเลยแม้แต่น้อย...

ขอให้ข้าพเจ้าพลอยยินดีในความดี... ความรู้ความสามารถของบุคคลเหล่านั้นด้วยใจจริง... ช่วยส่งเสริมสนับสนุนและให้กำลังใจแก่คนเหล่านั้น... อันเข้าลักษณะการมีมุทิตาจิตในพระพุทธศาสนา... ซึ่งตรงกันข้ามกับความริษยา...

ขออย่าให้เป็นอย่างบางคน... ที่เกรงนักหนาว่าคนอื่นจะดีเท่าเทียมหรือดียิ่งกว่าตน... คอยหาทางพูดจาติเตียน... ใส่ไคล้ให้คนทั้งหลายเห็นว่า...ผู้นั้นยังบกพร่องอย่างนั้นอย่างนี้...

ขอให้ข้าพเจ้ามีน้ำใจสะอาด... พูดส่งเสริมยกย่องผู้อื่นที่ควรยกย่องเถิด...

ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีน้ำใจเข็มแข็งอดทน... อย่าเป็นคนขี้บ่น... ในเมื่อมีความยากลำบากอะไรเกิดขึ้น... ขอให้มีกำลังใจต่อสู้กับความยากลำบากนั้นๆ...โดยไม่ต้องอ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์มาช่วย...

ขออย่าเป็นคนอ่อนแอเหลียวหาที่พึ่ง... เพราะไม่รู้จักทำตนให้เป็นที่พึ่งของตนเลย...

ขออย่าให้ข้าพเจ้าเป็นคนชอบได้อภิสิทธิ์... คือ สิทธิเหนือคนอื่น... เช่น ไปตรวจที่โรงพยาบาล... ก็ขอให้พอใจนั่งคอยตามลำดับ... อย่าวุ่นวายจะเข้าตรวจก่อน... ทั้งที่ตนไปถึงทีหลัง...

ในการสอบแข่งขันเพื่อคัดเลือกใดๆ... ขออย่าให้ข้าพเจ้าคิดหาวิธีลัด...หรือวิธีทุจริตใดๆ... รวมทั้งขออย่าได้วิ่งเต้นเข้าหาคนนั้นคนนี้... เพื่อให้เขาช่วยให้ได้ผลดีกว่าคนอื่น... ทั้งๆ ที่ข้าพเจ้าอาจมีคะแนนสู้คนอื่นไม่ได้เถิด...

ข้าพเจ้าทำงานที่ใด... ขออย่าให้ข้าพเจ้าคิดเอาเปรียบ...หรือคิดเอาแต่ได้ในทางส่วนตัว... เช่น เถลไถลไม่ทำงาน... รีบเลิกงานก่อนกำหนดเวลา...

ขอจงมีความขยันหมั่นเพียร... พอใจในการทำงานให้ได้ผลดี... ด้วยความตั้งใจและเต็มใจ... เพื่อประโยชน์ของตนเอง... ฉะนั้นเถิด อันเนื่องมาแต่ความไม่คิดเอาเปรียบในข้อนี้... ถ้าข้าพเจ้าบังเอิญก้ำเกินข้าวของ... ของที่ทำงานไปในทางส่วนตัวได้บ้าง... เช่น กระดาษ... ซอง... หรือ เครื่องใช้ใดๆ... ขอให้ข้าพเจ้าระลึกอยู่เสมอว่าเป็นหนี้อยู่... และพยายามใช้หนี้คืนด้วยการซื้อใช้... หรือทำงานให้มากกว่าที่กำหนด... เพื่อเป็นการชดเชยความก้ำเกินนั้น...

ข้อนี้รวมทั้ง ขอให้ข้าพเจ้าอย่าเอาเปรียบชาติบ้านเมือง... เช่น ในเรื่องการเสียภาษีอากร... ถ้ารู้ว่ายังเสียน้อยไปกว่าที่ควร... หรือตามที่กฎหมายกำหนดไว้... ขอให้ข้าพเจ้ามีความตั้งใจที่จะชดใช้แก่ชาติบ้านเมืองอยู่เสมอ... เมื่อมีโอกาสตอบแทนเมื่อไร... ขอให้รีบตอบแทนโดยทันที... เช่น ในรูปแห่งการบริจาคบำรุงโรงพยาบาล... บำรุงการศึกษา...หรือบริจาคเพื่อสาธารณะประโยชน์อื่น ๆ... แบบบริจาคให้มากกว่าที่รู้สึกว่ายังเป็นหนี้ชาติบ้านเมืองอยู่เสมอ...

และในข้อนี้ขอให้ข้าพเจ้าปฏิบัติแม้ต่อเอกชนใดๆ... ขออย่าให้ข้าพเจ้าคิดเอาเปรียบหรือโกงใครเลยแม้แต่น้อย... แม้แต่จะซื้อของ... ถ้าเขาถอนเงินเกินมา... ก็ขอให้ข้าพเจ้ายินดีคืนให้เขากลับไปเถิด... อย่ายินดีว่ามีลาภ... เพราะเขาทอนเงินเกินมาให้เลย...

ขออย่าให้ข้าพเจ้า...มักใหญ่ใฝ่สูง... อยากมีหน้ามีตา... อยากมีอำนาจ... อยากเป็นใหญ่เป็นโต... ขอให้ข้าพเจ้าใฝ่สงบ... มีความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ... ไม่ต้องเดือดร้อนในเรื่องการแข่งดีกับใครๆ...

ทั้งนี้เพราะข้าพเจ้าพอจะเดาได้ว่า... ความมักใหญ่ใฝ่สูง... ความหยากมีหน้ามีตา... ความอยากมีอำนาจ... และอยากเป็นใหญ่เป็นโตนั้น... มันเผาให้เร่าร้อน... ยิ่งต้องแข่งดีกับใครๆ ด้วยก็ยิ่งทำให้เกิดความคิดริษยา... คิดให้ร้ายคู่แข่งขัน...

ถ้าอยู่อย่างใฝ่สงบมีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ... ก็จะเย็นอกเย็นใจ... ไม่ต้องนอนก่ายหน้าผากถอนใจเพราะเกรงคู่แข่งจะชนะ... ไม่ต้องทอดถอนใจเพราะไม่สมหวัง...

ขอให้ข้าพเจ้ามีความเข้าใจซาบซึ้งในพระพุทธภาษิตว่า... "ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ละความชนะความแพ้เสียได้ ย่อมอยู่เป็นสุข"... ดังนี้เถิด... แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า... เมื่อใฝ่สงบแล้ว ข้าพเจ้าจะต้องอยู่อย่างเกียจคร้าน...ไม่สร้างความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม ...

ข้าพเจ้าทราบดีว่าพระพุทธศาสนามิได้สอนให้คนเกียจคร้าน...งอมืองอเท้า... แต่สอนให้มีความบากบั่น...ก้าวหน้าในทางที่ดี...ไม่ว่าทางโลกหรือทางธรรม... และความบากบั่นก้าวหน้าดังกล่าวนั้น... ไม่จำเป็นต้องผูกพันอยู่กับความทะยานอยาก... หรือความมักใหญ่ใฝ่สูงใด ๆ... คงทำงานไปตามหน้าที่ให้ดีที่สุด ผลดีก็จะเกิดตามมาเอง...

ขอให้ข้าพเจ้า...หมั่นปลูกฝั่งความรู้สึกมีเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่น... และมีกรุณาคิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์... ซึ่งพระพุทธเจ้าแนะนำให้ปูพื้นจิตใจด้วยเมตตากรุณาดังกล่าวนี้อยู่เสมอ... จนกระทั่งไม่รู้สึกว่า...มีใครเป็นศัตรูที่จะต้องคิดกำจัดตัดรอนเข้าให้ถึงความพินาศ...

ใครไม่ดี... ใครทำชั่วทำผิดขอให้เขาคิดได้กลับตัวได้เสียเถิด... อย่าทำผิดทำชั่วอีกเลย... ถ้ายังขืนทำต่อไปก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้... เขาจะต้องรับผลแห่งกรรมชั่วของเขาเอง... เราไม่ต้องคิดแช่งชักให้เขาพินาศ... เขาก็จะต้องถึงความพินาศของเขาอยู่แล้ว... จะต้องแช่งให้ใจเราเดือดร้อนทำไม...

ขอให้ความเมตตาคิดจะให้เป็นสุข... และกรุณาคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์...ซึ่งข้าพเจ้าปลูกฝังขึ้นในจิตใจนั้น... จงอย่าเป็นไปในวงแคบและวงจำกัด... ขอจงเป็นไปทั้งในมนุษย์...และสัตว์ทุกประเภท... รวมทั้งสัตว์ดิรัจฉานด้วย... เพราะไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เหล่านั้น... ต่างก็รักสุขเกลียดทุกข์ รู้จักรักตนเองปรารถนาดีต่อตนเองด้วยดันทั้งสิ้น...

ขอให้ข้าพเจ้า...อย่าเป็นคนโกรธง่าย... ต่างว่าจะโกรธบ้าง... ก็ขอให้มีสติรู้ตัวโดยเร็วว่ากำลังโกรธ... จะได้สอนใจตนเองให้บรรเทาความโกรธลง... หรือถ้าห้ามใจให้โกรธไม่ได้... ก็ขออย่าให้ถึงกับคิดประทุษร้ายผู้อื่น... หรือคิดอยากให้เขาถึงความพินาศ... ซึ่งนับเป็นมโนทุจริตเลย... ขอจงสามารถควบคุมจิตใจให้เป็นปรกติได้โดยรวดเร็ว... เมื่อมีความไม่พอใจหรือความโกรธเกิดขึ้นเถิด...

และเนื่องมาจากความปรารถนาข้อนี้... ขอให้ข้าพเจ้าอย่าเป็นคนผูกโกรธ... ให้รู้จักให้อภัย... ทำใจให้ปลอดโปร่งจากการผูกอาฆาตจองเวร...

ขอให้มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น... โดยรู้จักเปรียบเทียบกับตัวข้าพเจ้าเองว่าข้าพเจ้าเองก็อาจทำผิด... พูดผิด... คิดผิด... หรือ อาจล่วงเกินผู้อื่นได้... ทั้งโดยมีเจตนาและไม่เจตนา... ก็ข้าพเจ้าเองยังทำผิดได้... เมื่อผู้อื่นทำอะไรผิดพลาดล่วงเกินไปบ้าง... ก็จงให้อภัยแก่เขาเสียเถิด... อย่าผูกใจเจ็บหรือเก็บความรู้สึกไม่พอใจนั้นมาขังอยู่ในจิตใจ... ให้เป็นพิษเป็นภัยแก่ตัวเองเลย...

ขอให้ข้าพเจ้า...มีความรู้ความเข้าใจ...และสอนใจตัวเองได้เกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธศาสนา... ทั้งทางโลกและทางธรรม...

กล่าวคือ... พระพุทธศาสนาสอนให้รู้จักสร้างความเจริญแก่ตนในทางโลก... และสอนให้ประพฤติปฏิบัติยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น... ให้มีปัญญาเข้าใจปัญหาแห่งชีวิต... เพื่อจะได้ไม่ติดไม่ยึดถือ... มีจิตใจเบาสบายอันเป็นความเจริญในทางธรรม...

ซึ่งรวมความแล้วสอนให้เข้ากับโลกได้ดี... ไม่เป็นภัยอันตรายแก่ใคร ๆ... แต่กลับเป็นประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ... แต่ก็ได้สอนไปในทางธรรมให้เข้ากับธรรมได้ดี... คือให้รู้จักโลก... รู้เท่าโลก...และขัดเกลานิสัยใจคอให้ดีขึ้นกว่าเดิม... เพื่อบรรลุความดับทุกข์... ความพ้นทุกข์...

ขอให้ข้าพเจ้า...มีความเข้าใจทั้งทางโลกทางธรรม... และปฏิบัติตนให้ถูกต้องได้ทั้งสองทาง... รวมทั้งสามารถหาความสงบใจได้เอง...และสามารถแนะนำชักชวนเพื่อนร่วมชาติร่วมโลก... ให้ได้ประสบความสุขสงบได้ตามสมควรเถิด...

“ความปรารถนาหรือคำอธิษฐานรวม ๑๐ ประการของข้าพเจ้านี้ ข้าพเจ้าตั้งไว้เพื่อเป็นแนวทางเตือนใจ หรือสั่งสอนตัวเอง เพราะปรากฏว่าตัวข้าพเจ้าเองยังมีข้อบกพร่อง ซึ่งจะต้องว่ากล่าวตักเตือน คอยตำหนิตัวเองอยู่เสมอ ข้าพเจ้าจึงคิดว่า ถ้าได้วางแนวสอนตัวเองขึ้นไว้เช่นนี้ เมื่อประพฤติผิดพลาด ก็อาจระลึกได้ หรือมีหลักเตือนตนได้ง่ายกว่าการที่จะนึกว่า ข้าพเจ้าดีพร้อมแล้ว หรือเป็นบุคคลที่สมบูรณ์แล้ว ซึ่งนับว่าเป็นความประมาทหรือลืมตัวอย่างยิ่ง”
บทสรุป
      อ.สุชีพ  ปุญญานุภาพ  เป็นผู้ที่ได้บำเพ็ญประโยชน์แก่มูลนิธิมหากุฏราชวิทยาลัย  ในพระบรมราชูปถัมภ์  มาเป็นเวลานานนับแต่ท่านยังอยู่ในสมณเพศ  ในนามที่รู้จักกันดีในขณะนั้นคือ  "สุชีโว  ภิกขุ" โดยเริ่มจากการเป็นเจ้าหน้าที่ประจำแผนกนิตยสาร "ธรรมจักษุ"  ต่อมาก็ได้เป็นกำลังสำคัญในการก่อตั้งสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย  ต่อมาภายหลังจึงเป็น  "มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย"  มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย  ในปัจจุบันถือได้ว่าท่าน  อ.สุชีพ  เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์การศึกษาคณะสงฆ์ไทย  ได้สร้างผลงานทั้งในด้านการศึกษาและการเผยแผ่ในวงการคณะสงฆ์อย่างกว้างขวาง

     อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๓ รูปร่างสังขารของท่านล่วงไปแล้วตามกฎแห่งความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ไม่ทน (ทุกขัง) และไม่แท้ (อนัตตา) แต่อนุสาวรีย์แห่งความดีงาม คือผลงานจำนวนมากของท่านยังคงอยู่เป็น “ประภาคารแห่งปัญญา” ให้กับชนรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี เหมือนกับที่ท่านยังคงมีชีวิตอยู่
     ชีวิตของอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ เป็นชีวิตสะอาด และเป็นสุชีวิต คือ ชีวิตที่ดีงาม สมกับชื่อของท่านอย่างแท้จริง.

“สุภาพบุรุษแก้ว          โกมล
ชีพสะอาดสว่างยล      เยี่ยงได้
ปุญญาธิกาลดล          บัณฑิต
นุภาพนิพนธ์ให้           ห่างห้วงโมหันธ์”
อ.สุชีพ  ปุญญานุภาพ