เนื้อสัตว์เป็นอาหารตามธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์หรือไม่

ก า ร กิ น เ จ
อาหารธรรมชาติของมนุษย์
ตอนที่ 4....เนื้อสัตว์เป็นอาหารตามธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์หรือไม่

ข้อเปรียบเทียบลักษณะทางกายวิภาค และระบบทำงานของอวัยวะต่างๆระหว่างมนุษย์และสัตว์กินเนื้อ 1. ลักษณะโครงสร้างของมนุษย์ ธรรมชาติของมนุษย์ใช้สองขายืนบนพื้นดิน กระดูกสันหลังและลำ ตัวตั้งตรงเป็นมุมฉากกับพื้นตามแนวดิ่ง เพื่อสะดวกในการหาอาหารสำหรับยังชีพ ลักษณะของลำตัวแขนขาและการยืนตัวตรงทำให้มนุษย์สามารถเอื้อมหยิบ เด็ด และเก็บผลไม้ได้สะดวก ถ้าหากมนุษย์ต้องดำรงชีพอยู่ด้วยการจับสัตว์มาเป็นอาหารแล้วล่ะก็ รูปร่างลักษณะของมนุษย์ที่เป็นอยู่ไม่เอื้ออำนวยให้สามารถจับสัตว์ใดๆได้สะดวก หากปราศจากอาวุธ และเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ มนุษย์จะไม่สามารถไล่จับสัตว์ได้เพราะมนุษย์วิ่งได้ช้ากว่า เพราะมีฝ่าเท้าที่บางจึงไม่อาจรับแรงกระแทกในขณะวิ่งเป็นเวลานานๆได้ ในกรณีที่มนุษย์ต้องการจับสัตว์น้ำมาเป็นอาหารก็กระทำได้ยาก เพราะสัตว์น้ำทุกประเภทมีลำตัวเป็นเมือกลื่น ลำพังมือเปล่าทั้งสองของมนุษย์เองและการแหวกว่ายไม่สมารถจะจับได้ง่ายเลย ขณะเดียวกันถ้าต้องลืมตาอยู่ใต้น้ำนานๆมนุษย์จะรู้สึกแสบตา ไม่สามารถมองเห็นได้สะดวก แต่ทว่ามนุษย์อาศัยเครื่องมืออุปกรณ์มากมายเพื่อจับสัตว์น้ำ ให้ได้มาบริโภคคราวละมากๆนับเป็นการดำรงชีวิตที่ผิดธรรมชาติ การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้สมดุลย์ของชีวิตสัตว์ในธรรมชาติเสียไป เปรียบเทียบลักษณะโครงสร้างของสัตว์ ประเภทกินเนื้อ สัตว์กินเนื้อส่วนใหญ่จะยืนด้วยขา 4 ขา มีกระดูกสันหลังและลำตัวทอดขวางขนานไปกับพื้นดิน ขณะออกวิ่งไล่จับสัตว์จึงไม่ต้านแรงลมสามารถวิ่งได้เร็ว อุ้งเท้าและฝ่าเท้าหนามีลักษณะกลมเพื่อรับน้ำหนักตัว จึงสามารถรับแรงกระแทกได้ดีเมื่อต้องวิ่งเป็นระยะทางไกลๆ ส่วนสัตว์ประเภทที่จับสัตว์น้ำเป็นอาหารจะสามารถลืมตาและเคลื่อนไหวได้รวดเร็วเมื่ออยู่ใต้น้ำ มีเล็บงองุ้มแหลมคม เพื่อจับยึดสัตว์น้ำ เช่น ปลาซึงมีลำตัวเป็นเมือก ล่น ได้อย่างแม่นยำ 2. การมองเห็น สายตาของมนุษย์และสัตว์กินพืชเป็นอาหาร จะมองได้ดีในเวลากลางวัน ฉะนั้น มนุษย์และสัตว์กินพืชเป็นอาหารจะมองเห็นได้ดีในเวลากลางวัน ฉะนั้นมนุษย์และสัตว์ที่กินพืชเป็นอาหารจะออกหากินในเวลากลางวัน แสงสว่างช่วยให้ตามองเห็นสีสันของอาหารพืชผักผลไม้ได้ดี ส่วนในเวลากลางคืนธรรมชาติจะจัดให้มนุษย์นอนหลับพักผ่อน เปรียบเทียบกับการมองเห็นของสัตว์ประเภทกินเนื้อ สายตาของสัตว์กินเนื้อจะมองได้ดีในเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวันตาจะพร่ามัว และไม่อาจทนต่อแสงสว่างมากๆได้ ดังนั้นสัตว์กินเนื้อโดยธรรมชาติจึงออกหากินในเวลากลางคืนและนอนหลับในเวลากลางวัน 3. จมูก จมูกของมนุษย์ใช้หายใจบนบก จึงไม่สามารถดำลงไปอยู่ใต้น้ำได้นาน อีกทั้งไม่สามารถใช้ติดตามดมกลิ่นเพื่อล่าสัตว์ใดๆได้ เปรียบเทียบกับจมูกของสัตว์ประเภทกินเนื้อ สัตว์กินเนื้อมีจมูกที่สัมผัสกลิ่นได้ดี จึงสามารถติดตามดมกลิ่นสัตว์อื่นและช่วยป้องกันภัยจากศัตรู 4. หู มนุษย์จะได้ยินเสียงในคลื่นความถี่ที่จำกัด ขอบเขตในการได้ยินเสียงไม่ขว้างไกล เปรียบเทียบกับหูของสัตว์ประเภทกินเนื้อ สัตว์กินเนื้อมีประสาทหูไว สามารถได้ยินเสียงในคลื่นความถี่สูงกว่าหูมนุษย์ จึงมีความว่องไวต่อเสียง ทำให้มันสามารถจะตื่นระวังภัยได้อย่างรวดเร็ว 5. ฟัน ฟันของมนุษย์และสัตว์กินพืช เป็นฟันตรงแบบเรียบ เพื่อใช้กัดลงตรงๆไม่มีเขี้ยวแหลมยาว มนุษย์มีจำนวนซี่ฟันมากกว่าสัตว์กินเนื้อ ฟันกรามบนล่างเรียบไม่แหลมเพื่อใช้บดอาหารที่มีเส้นใยจำพวกพืชผักผลไม้ได้ดี ลักษณะการเคี้ยวเป็นแบบเคี้ยวเอื้อง คือขากรรไกรล่างเคลื่อนไหวไปมาเหมือนสัตว์กินพืชทั่วไปเช่นเดียวกับ ม้า วัว ควาย แพะ แกะ เปรียบเทียบกับฟันของสัตว์ประเภทกินพืช สัตว์กินเนื้อมีฟันที่แหลมคม มีจำนวนซี่ฟันน้อยกว่าสัตว์กินพืช มีเขี้ยวแหลมยาวเพื่อใช้สำหรับฉีกกระชาก ขบกัดเพื่อให้ตาย มีขากรรไกรและฟันกรามแข็งแรงแหลมคม เป็นฟันสำหรับกัดทะลุสามารถขบกระดูกแข็งๆให้แตกละเอียดได้ สัตว์กินเนื้อเวลากินอาหารฟันบนของมันจะกัดลงตรงๆ เท่านั้น แล้วกลืนลงไปโดยไม่เคี้ยวอาหารให้ละเอียด 6. เล็บ เล็บของมนุษย์จะบางและแบน หากงอกยาวมากๆก็จะฉีกขาดและหักไปเอง เล็บของมนุษย์จึงใช้สำหรับการบิด แกะ เด็ด และปลอกเปลือกอาหารพืชผักผลไม้ เปรียบเทียบกับเล็บของสัตว์ประเภทกินเนื้อ สัตว์กินเนื้อมีเล็บยาวกลมแหลมคมและงองุ้ม เพื่อใช้ขยุ้มตะครุบตะปบจับเหยื่อไม่ให้ดิ้นหลุด ซึ่งสามารถฆ่าเหยื่อให้ตายในทันที 7. ลำไส้ ลำไส้ของมนุษย์มีความยาวเป็น 10-12 เท่าของกระดูกสันหลัง ซึ่งไม่เหมาะกับอาหารประเภทเนื้อ เปรียบเทียบกับลำไส้ของสัตว์ประเภทกินเนื้อ ลำไส้ของสัตว์กินเนื้อมีความยาวเพียง 3 เท่าของกระดูกสันหลัง 8. น้ำลายและน้ำย่อย มนุษย์และสัตว์กินพืช จะมีน้ำลายที่มีฟทธิ์เป็นด่างสามารถย่อยอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลได้ก่อนทันทีที่เคี้ยวอาหารอยู่ในปาก ส่วนน้ำย่อยในกระเพาะอาหารของมนุษย์เป็นน้ำย่อยผักเช่นเดียวกับสัตว์กินพืชทั่วๆไป ทางการแพทย์พบว่าแม้ร่างกายของมนุษย์จะมีลำไส้ยาวถึง 12 ฟุต แต่ก็สามารถขับถ่ายกากใยของอาหาพืชผักได้ในระยะเวลาอันสั้น และที่สำคัญระหว่างการเคลื่อนตัว จะช่วยกวาดสิ่งสกปรกภายในลำไส้ ช่วยให้ไม่เป็นโรคท้องผูก เปรียบเทียบกับน้ำลายและน้ำย่อยของสัตว์ประเภทกินเนื้อ สัตว์กินเนื้อไม่มีอาการน้ำลายไหลเมื่อได้กลิ่นของผลไม้ ไม่มีน้ำย่อยในปาก เวลากินเนื้อมันจะฉีกเป็นชิ้นๆแล้วกลืน และน้ำย่อยในกระเพาะของมันมีฤทธิ์เป็นกรดอย่างแรง สัตว์กินเนื้อบางประเภทเช่น งูเหลือม เสือ จระเข้ น้ำย่อยของมันจะมีปริมาณกรดเกลือมากกว่าในน้ำย่อยของสัตว์กินพืชถึง 10 เท่า ทำให้ย่อยสลายเนื้อ เอ็น พังผืด ได้อย่างรวดเร็ว ช่วงลำไส้ที่สั้นเพียง 3 เท่าของกระดูกสันหลังทำให้กากอาหารที่ขับถ่ายออกได้เร็วกว่ามนุษย์ฉะนั้นหากมนุษย์กินเนื้อเข้าไป ลำไส้ที่ยาวกว่าจะทำให้อาหารประเภทเนื้อเคลื่อนตัวช้ามาก จึงเกิดบูดเน่าและเป็นพิษตกค้างอยู่ในลำไส้นาน ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่นโรคเกี่ยวกับลำไส้และทางเดินอาหาร โรคในระบบขับถ่าย โรคท้องเสีย อุจจาระมีกลิ่นเหม็นรุนแรง 9. ผิวหนัง ร่างกายของมนุษย์และสัตว์กินพืชจะมีต่อมเหงื่ออยู่ตามรูขุมขน เพื่อปรับอุณหภูมิและช่วยระบายความร้อนของร่างกายให้เย็นลงในระหว่างการออกหาอาหาร หรือ ทำงานในช่วงเวลากลางวันซึ่งมีอุณหภูมิสูง เปรียบเทียบกับผิวหนังของสัตว์ประเภทกินเนื้อ ร่างกายของสัตว์กินเนื้อ ไม่มีการระบายความร้อนหรือขับเหงื่อออกทางผิวหนังเพื่อช่วยรักษาร่างกายให้อบอุ่น ทั้งนี้เพราะต้องออกหาอาหารในเวลากลางคืน ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำ สัตว์กินเนื้อบางประเภทมีต่อมเหงื่อที่ลิ้น ทำให้ลิ้นของมันมีความชุ่มชื้นตลอดเวลา สัตว์กินเนื้อจึงมักมีนิสัยที่แลบลิ้น และอ้าปากเสมอ 10. พฤติกรรม มนุษย์และสัตว์กินพืชจะใช้วิธีดื่ม และ ดูดในเวลากระหายน้ำ และมีนิสับชอบอาบน้ำอยู่เป็นประจำ เพื่อชำระเหงื่อที่ออกทั่วร่างกาย เช่น วัว ควาย ม้า นกเขา นกพิราบ หงส์เป็นต้น เปรียบเทียบกับพฤติกรรมของสัตว์ประเภทกินเนื้อ สัตว์กินเนื้อจะใช้ลิ้นเลีย หรือใช้เท้าวักกินน้ำและมีนิสัยไม่ชอบอาบน้ำเช่น แมว เสือ สิงโต เหยี่ยว นกแร้งเป็นต้น จากข้อเปรียบเทียบดังที่กล่าวมาพอเป็นตัวอย่าง จะเห็นได้ว่าลักษณะธรรมชาติของร่างกายมนุษย์ ไม่เอื้ออำนวยให้มนุษย์เราดำรงชีวิตอยู่ด้วยการล่าจับสัตว์ และกินเนื้อเป็นอาหารเลย บรรดานักวิชาการจากหลายสาขาได้กล่าวสรุปว่า " จากการศึกษาค้นคว้าทั้งหมด ทำให้เราเชื่อมั่นได้ว่าเนื้อสัตว์ไม่ใช่อาหารที่เป็นธรรมชาติอันแท้จริงของมนุษย์ "

อาหารธรรมชาติของมนุษย์
ธรรมคือแรงใจ
96 ธรรมคือแรงใจ
จิตเดิมแท้ของเรานั้นทุกคนนั้นมาจากธรรมชาติอันบริสุทธิ์
กลับหน้าสารบัญ