ความหมายที่แท้จริงของการทดสอบ

... คำว่ามารทดสอบนี้ เป็นหนทางที่เราผู้บำเพ็ญจะต้องผ่าน

... ดังคำกล่าวที่ว่า “บำเพ็ญธรรมแม้นไม่เข้าใจในการทดสอบ ก็ไม่คู่ควรแก่การกล่าวถึง”

... และกล่าวอีกว่า “เมื่อมีธรรมย่อมมีมาร ธรรมกับมารดั่งเงาตามตัว”

... แม้นปรารถนาจะสำเร็จธรรม จะต้องฝึกฝนจากท่ามกลางมารทดสอบ

... ในศาสนาเต๋ากล่าวไว้ว่า “ไม่หลอมไม่แกร่งดั่งวัชระ”

... ศาสนาปราชญ์กล่าวไว้ว่า “ไม่ทดสอบไม่สำเร็จอริยะ”

... ศาสนาพุทธกล่าวไว้ “ไม่ฝึกฝนไม่เคี่ยวกรำไม่บรรลุพุทธะ”

... ท่านเอี๋ยนหุยกล่าวไว้ว่า “หยกไม่เจียระไนจะไม่เกิดคุณค่า ทองไม่หล่อหลอมจะไม่ได้ราคา”

... จึงกล่าวได้ว่าหากบำเพ็ญธรรม จะต้องผจญกับการทดสอบ

... และจะต้องทำความเข้าใจว่านั่นคือเบื้องบนโปรดส่งเสริมเรา ความหมายที่แท้จริงของการทดสอบมีดังนี้

เพื่อแบ่งแยกจริงเท็จ

... กาลฟ้าได้โคจรมาถึงช่วงคัดเลือกและเก็บงานสมบูรณ์แล้ว

... แม้จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ บำเพ็ญธรรม แต่ก็มีปะปนคละเคล้า จริงเท็จยากแบ่งแยก

... บ้างก็บำเพ็ญตามมนุษย์สัมพันธ์โดยไม่ใส่ใจต่อสัจธรรมฟ้าสร้างเรื่องราวคำติฉินนินทา หน้าไหว้หลังหลอก ภายนอกเที่ยงตรงภายในเห็นแก่ตัว กระทำสิ่งที่เป็นการทำลายฟ้าและสัจธรรม ทำให้ผู้บำเพ็ญธรรมจริงต้องแปดเปื้อนมลทินไปด้วย

... ดังนั้นฟ้าเบื้องบนจึงโปรดให้มีการทดสอบเพื่อคัดเลือกที่ดีงามไว้ ทำลายส่วนที่เลวร้าย เมื่อนั้นจริงเท็จก็จะปรากฏ

... ผู้ที่บำเพ็ญจริงย่อมเอาชนะและฝ่าฟันได้ จึงสามารถปฏิบัติงานเก็บงานสมบูรณ์ในยุคสามปลายกัปได้ นี้

ชดใช้หนี้กรรม

... เราทุกคนเวียนเกิดเวียนตายมานับภพชาติไม่ได้ หนี้เวรกรรมที่ได้สร้างมานับหกหมื่นปี เปรียบไปแล้วสูงดั่งภูผา ลึกดั่งมหาสมุทร

... ในชาตินี้มีโอกาสได้สดับรับวิถีธรรม เป็นบุญวาสนาอันหาที่เปรียบมิได้

... แต่เจ้ากรรมนายเวรที่สร้างมานานหลายหมื่นปี เขาจะยอมเราหรือ?

... เบื้องบนมหาเมตตาโปรดให้มีการทดสอบ ให้มีการหล่อหลอมเคี่ยวกรำ เพื่อให้ประจักษ์ถึงความมุ่งมั่นอันแท้จริง และชำระหนี้เวรกรรม

... ดังนั้น เมื่อผจญกับการทดสอบครั้งหนึ่ง ก็เท่ากับได้ชำระหนี้เวรกรรมไปครั้งหนึ่งเช่นกัน

... เมื่อเป็นเช่นนี้หนี้เวรกรรมที่หนักหน่วงก็จะเบาบางลงตามลำดับ เปลี่ยนจากความเลวร้ายกลายเป็นมงคล

... พระพุทธะอริยะแต่โบราณ ก็สำเร็จจากการทดสอบเคี่ยวกรำทั้งนั้น

แปรเปลี่ยนอุปนิสัย

... เพราะมนุษย์เราเมื่อตกสู่โลกอันเป็นฟ้าปางหลัง อุปนิสัยความเคยชินมีแตกต่างกันไป แยกได้นับหมื่นพัน

... แต่เหล่านี้ล้วนไม่สอดคล้องต่อธรรมสายกลาง จึงทำให้ผู้บำเพ็ญธรรมบางส่วน มักจะเอาดีเข้าตัวเอาชั่วให้ผู้อื่น และมีความละโมบโลภมาก หลักลอยคุยโอ่ ประมาทเลินเล่อ

... เมื่อเป็นเช่นนี้หากได้พบเจอกับการทดสอบ พบกับตะปูตำเท้าบ้างก็จะรู้สึกตัว และย้อนมองสำนึกขอขมา

... แปรเปลี่ยนอนุสัยความเคยชินให้เข้าใกล้จิตแห่งฟ้าได้มากที่สุด

กำหนดมรรคผล

... มรรคผลบัลลังก์บัวเก้าระดับชั้นนั้น กำหนดได้ตามบุญกุศลที่ได้สะสมสร้างมา ดังคำกล่าวที่ว่า “ธรรมจริงทดสอบจริง เพื่อประจักษ์ใจจริง ล้วนอยู่ในท่ามกลางความขรุขระและลำบาก”

... ฟ้าคนโปรดทดสอบ ข้อสอบที่ให้ดูจากจุดมุ่งหมาย ทัศนะ ทักษะของเรา

... ครั้งโบราณท่านขงจื้อถูกควบคุมตัว ณ ด่านเฉินไฉ่ พร้อมสานุศิษย์เป็นเวลา 7 วันโดยไม่มีอาหารให้กินดื่ม ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สานุศิษย์ต่างล้มป่วย

... แต่ท่านขงจื้อนั้นหาได้หวั่นวิตกอะไรไม่ ยังคงอรรถาธรรมและสวดร้องรำกลอนอยู่เช่นนั้น

... แต่ท่านรู้ว่าเหล่าสานุศิษย์นั้นมีความคับแค้นในใจอยู่ลึก ๆ จึงได้เรียกจื่อลู่เข้ามาถาม

... “ ธรรมแห่งเราหาใช่มิจฉา เหตุใดเราจึงต้องเผชิญเหตุการณ์เช่นนี้?

... ” จื่อลู่ตอบว่า “ ตามทัศนะของข้าพเจ้านั้น เพราะยังขาดซึ่งความการุณย์ เขาเหล่านั้นจึงไม่เชื่ออย่างข้าพเจ้านั่นแล!

... ตามทัศนะของข้าพเจ้านั้น เพราะขาดความรู้ความเข้าใจ เขาเหล่านั้นจึงไม่ปฏิบัติอย่างข้าพเจ้านั่นแล”

... ท่านขงจื้อตอบว่า “เป็นเช่นนี้หรือ! อิ๋ว(จื่อลู่) แม้นมีความการุณย์ไหนเลยจะต้องอาศัยความเชื่อมั่น ดั่งเช่นป๋ออี๋และสูฉี แม้นมีความเข้าใจไหนเลยจะต้องลงมือปฏิบัติ ดั่งเช่นราชบุตรปี่กัน?”

... เมื่อจื่อลู่ออกไปแล้ว จื่อก้งก็เข้ามาพบ ท่านขงจื้อจึงถามออกไปว่า

... “ ชื่อ (จื่อก้ง) ธรรมแห่งเราหาใช่มิจฉา เหตุใดเราจึงต้องเผชิญเหตุการณ์เช่นนี้?”

... จื่อก้งตอบว่า “ธรรมแห่งท่านอาจารย์นั้นสูงส่ง ดังนั้นชนใต้หล้าจึงมิอาจน้อมรับได้ ท่านอาจารย์ลดระดับให้ต่ำลงมามิได้หรอกหรือ?”

... ท่านขงจื้อตอบว่า “ ชื่อ (จื่อก้ง) ชาวนาสามารถทำนาแต่ไม่อาจเป็นเก็บเกี่ยว นายช่างฝีมือดีแต่ทำงานไม่เรียบร้อย สุภาพชนนั้นพึงบำเพ็ญธรรม มีระเบียบและวินัย เป็นหลักเป็นระบบ ซึ่งไม่ควรลดละ วันนี้เจ้าไม่บำเพ็ญธรรมแต่ร้องขอให้ลดละ ชื่อ อุดมการณ์ของเจ้าไม่ไกล?”

... เมื่อจื่อก้งออกไป เอี๋ยนหุยจึงเข้าพบ

... “ หุย (เอี๋ยนหุย) ธรรมแห่งเราหาใช่มิจฉา เหตุใดเราจึงต้องเผชิญเหตุการณ์เช่นนี้?”

... เอี๋ยนหุยตอบว่า “ ธรรมแห่งท่านอาจารย์นั้นสูงส่ง ดังนั้นชนใต้หล้าจึงมิอาจน้อมรับได้ แม้ท่านอาจารย์จะผลักดันและปฏิบัติ ไหนเลยจะปราศจากเภทภัย ไหนเลยจะได้พบสุภาพชน หากไม่บำเพ็ญธรรมแห่งท่านอาจารย์ คือสิ่งที่เสียหายของข้าพเจ้าแล ธรรมแห่งท่านอาจารย์หากผู้เป็นใหญ่ไม่ยอมนำเอาไปบำเพ็ญ คือความเสียหายของประเทศแล ไหนเลยจะปราศจากเภทภัย ไหนเลยจะได้พบสุภาพชน”

... ท่านขงจื้อจึงยิ้มออกมาด้วยความชื่นชม และกล่าวว่า “มีศิษย์เยี่ยงเอี๋ยนหุย ทำให้ข้านั้นมั่งมี ข้าถือเอาเจ้าเป็นความภาคภูมิใจ”

... สิ่งที่ปราชญ์ทั้ง3ท่านกล่าวนั้นแตกต่างกันออกไป ก็รู้ถึงความสำเร็จที่ต่างกัน

... สุดท้ายท่านขงจื้อสำเร็จเป็นอริยะบรมครู

... เอี๋ยนหุยสำเร็จเป็นอริยะ

... จื่อก้งสำเร็จเป็นหนึ่งใน 10 จอมปราชญ์

... ส่วนจื่อลู่เป็นหนึ่งใน 72 เมธี

เพื่อแบ่งแยกจริงเท็จ

... เพราะมนุษย์เราเมื่อตกสู่โลกอันเป็นฟ้าปางหลัง อุปนิสัยความเคยชินมีแตกต่างกันไป แยกได้นับหมื่นพัน

... แต่เหล่านี้ล้วนไม่สอดคล้องต่อธรรมสายกลาง จึงทำให้ผู้บำเพ็ญธรรมบางส่วน มักจะเอาดีเข้าตัวเอาชั่วให้ผู้อื่น และมีความละโมบโลภมาก หลักลอยคุยโอ่ ประมาทเลินเล่อ

... เมื่อเป็นเช่นนี้หากได้พบเจอกับการทดสอบ พบกับตะปูตำเท้าบ้างก็จะรู้สึกตัว และย้อนมองสำนึกขอขมา

... แปรเปลี่ยนอนุสัยความเคยชินให้เข้าใกล้จิตแห่งฟ้าได้มากที่สุด

เพื่อแบ่งแยกจริงเท็จ

... เพราะมนุษย์เราเมื่อตกสู่โลกอันเป็นฟ้าปางหลัง อุปนิสัยความเคยชินมีแตกต่างกันไป แยกได้นับหมื่นพัน

... แต่เหล่านี้ล้วนไม่สอดคล้องต่อธรรมสายกลาง จึงทำให้ผู้บำเพ็ญธรรมบางส่วน มักจะเอาดีเข้าตัวเอาชั่วให้ผู้อื่น และมีความละโมบโลภมาก หลักลอยคุยโอ่ ประมาทเลินเล่อ

... เมื่อเป็นเช่นนี้หากได้พบเจอกับการทดสอบ พบกับตะปูตำเท้าบ้างก็จะรู้สึกตัว และย้อนมองสำนึกขอขมา

... แปรเปลี่ยนอนุสัยความเคยชินให้เข้าใกล้จิตแห่งฟ้าได้มากที่สุด

Dynamic content

Highslide HTML allows the popup size to be recalculated after the content has been changed, either through internal scripts or through external AJAX calls.

This example also has hs.preserveContent set to true. Try updating the content and move the popup, then close it and open it again.

Read more

Header for div3

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit. Aliquam dapibus leo quis nisl. In lectus. Vivamus consectetuer pede in nisl. Mauris cursus pretium mauris. Suspendisse condimentum mi ac tellus. Pellentesque habitant morbi tristique senectus et netus et malesuada fames ac turpis egestas. Donec sed enim. Ut vel ipsum. Cras consequat velit et justo. Donec mollis, mi at tincidunt vehicula, nisl mi luctus risus, quis scelerisque arcu nibh ac nisi. Sed risus. Curabitur urna. Aliquam vitae nisl. Quisque imperdiet semper justo. Pellentesque nonummy pretium tellus.

Header for div4

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit. Aliquam dapibus leo quis nisl. In lectus. Vivamus consectetuer pede in nisl. Mauris cursus pretium mauris. Suspendisse condimentum mi ac tellus. Pellentesque habitant morbi tristique senectus et netus et malesuada fames ac turpis egestas. Donec sed enim. Ut vel ipsum. Cras consequat velit et justo. Donec mollis, mi at tincidunt vehicula, nisl mi luctus risus, quis scelerisque arcu nibh ac nisi. Sed risus. Curabitur urna. Aliquam vitae nisl. Quisque imperdiet semper justo. Pellentesque nonummy pretium tellus.