ยินดีต้อนรับสู่ฟอรั่ม 96 เสวนาธรรมบำเพ็ญ
กรุณา ลงทะเบียน เพื่อสามารถใช้งานฟอรั่มได้อย่างเต็มรูปแบบ !
ลงทะเบียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและใช้เวลาเพียงเล็กน้อย

"โดยพื้นฐานธรรมชาติเดิมแท้ของตัวเรา
เป็นสิ่งที่บริสุทธิ์และสะอาด
ถ้าเรารู้จิตของเราและเห็นถึงธรรมชาติเดิมแท้ของเรา
เราทั้งหลายก็จะบรรลุถึงความเป็นพุทธะ"

หน้า: [1]   ลงล่าง
  ตอบ  |  พิมพ์  
Share this topic on FacebookShare this topic on Twitter
ผู้เขียน หัวข้อ: ถาม-ตอบอนุตตรธรรม ข้อที่ 1-10  (อ่าน 25285 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
admin
บุคคลทั่วไป
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 08:28:57 AM »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ



พระพุทธจี้กงเมตตาประทานคำตอบ

อ้างถึง
1.
วิถีอนุตตรธรรม เป็นวิถีธรรมธรรมที่แท้จริง การดำเนินอนุตตรธรรมกิจก็ทรงมีพระบัญชาจากพระอนุตตรธรรมมารดาเจ้า แต่เหตุไฉนยังมีมารมาก่อกวนอีกเล่า ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

          lQ4 ทั้งนี้เป็นเพราะความประสงค์ของฟ้าเบื้องบน ถ้าไม่มีการทดสอบก็ไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่มีต่อวิถีธรรมได้ ดังที่กล่าวว่า :
           " อริยบุคคลจะอุบัติขึ้นเมื่อแผ่นดินวุ่นวาย
           ขุนนางที่ซื่อสัตย์ภักดีจะปรากฏเมื่อบ้านเมืองโกลาหล
           ผู้บำเพ็ญจริงและผู้เสแสร้งจะถูกกรองจากสถานการณ์ที่ปั่นป่วน"

           ด้วยเหตุนี้ ทั้งเทพเซียนและพระพุทธอริยเจ้าแต่อดีตกาลมาล้วนสำเร็จธรรมท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ทั้งสิ้น



อ้างถึง
2.
ความทุกข์ต่างๆ ที่ผู้บำเพ็ญธรรมได้รับในการบำเพ็ญปฎิบัติเป็นการทดสอบของฟ้าเบื่องบนทั้งสิ้น ใช่หรือไม่ ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

 lQ2       ผู้บำเพ็ญธรรมอาจเข้าใจว่า ความทุกข์ต่างๆที่ได้รับในการบำเพ็ญปฎิบัติเป็นการทดสอบของฟ้าเบื้องบน ซึ่งอันที่จริงแล้วเป็นการบรรจบพบพานของต้นเหตุแห่งกรรมที่เคยปลูกสร้างมากับผลกรรมที่ตามตอบสนอง

       ส่วนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีเฉพาะหน้าที่ในการให้คะแนนอันจะเป็เกณฑ์ในการลำดับอริยฐานะตามสภาพการณ์ที่ผู้บำเพ็ญได้ประสบ

       วิบากกรรมที่ผู้บำเพ็ญเคยสั่งสมมา ทั้งที่ติดหนี้คนอื่นและที่คนอื่นเป็นหนี้เรา ควรสะสางให้หมดสิ้นไป

       จึงเห็นได้ว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์คือผู้ที่รู้จักอาศัยเหตุปัจจัยของการทดสอบที่เกิดขึ้น เนื่องจากการบรรจบพบพานแห่งต้นเหตุและผลกรรม ทำการชำระหนี้กรรมแล้วจึงสำเร็จธรรมเท่านั้นเอง.



อ้างถึง
3.
         ดังที่ได้สดับมาเบื้องต้นว่า ผู้บำเพ็ญธรรมเข้าใจว่าการบรรจบพบพานของต้นเหตุและผลกรรมในการบำเพ็ญปฎิบัติเป็นการทดสอบ ส่วนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีเฉพาะหน้าที่ในการให้คะแนนตามสภาพการณ์ที่ผู้บำเพ็ญได้ประสบ จึงอยากทราบว่า การเผชิญกับความทุกข์ต่างๆที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการบรรจบพบพานของต้นเหตุและผลกรรมนั้นจะได้รับบุญกุศลหรือไม่ ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

        lQ3“ไหนเลยจะมีบุญกุศล” การที่ผู้บำเพ็ญธรรมได้รับกับความทุกข์ต่างๆที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการบรรจบพบพานของต้นเหตุและผลกรรมนั้น เป็นโอกาสที่เบื้องบนต้องการประจักษ์แจ้งในความมุ่งมั่นต่อวิถีธรรมของผู้บำเพ็ญเท่านั้น

       ครั้นผู้ที่ยังไม่กระจ่างจ้างในวิถีธรรมได้รับความทุกข์ต่างๆในการบำเพ็ญปฎิบัติ ก็ย่อมโทษฟ้าและปรักปรำผู้อื่น

       แต่ทว่าผู้กระจ่างแจ้งในวิถีธรรมเมื่อได้รับความทุกข์ต่างๆในการบำเพ็ญปฎิบัติก็จะ สำนึกเสียใจและตำหนิติเตียนแต่ตนเอง
เพราะฉะนั้น พื้นฐานในการให้คะแนน (เพื่อเป็นเกณฑ์การลำดับอริยฐานะ) ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็ขึ้นอยู่กับความศรัทธาและความมุ่งมั่นที่ผู้บำเพ็ญแสดงให้เห็นต่อวิถีธรรมนั่นเอง.



อ้างถึง
4.
ผู้บำเพ็ญธรรมที่ตั้งปณิธานทานเจมีบุญกุศลหรือไม่ ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

       lQ3 “ไร้ซึ่งบุญกุศล” เพราะการทานอาหารเจเป็นสิ่ง ที่มนุษย์พึงกระทำ แต่เดิมมนุษย์เป็นสัตว์ที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์เป็นอาหาร การทานอาหารเจจึงเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติไหนเลยจะมีบุญกุศล.


อ้างถึง
5.
เมื่อการทานอาหารเจไม่มีบุญกุศล แล้วเหตุใดบำเพ็ญธรรมจึงต้องทานอาหารเจ ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

        :lS1:ดังที่กล่าวไปแล้วว่าการทานอาหารเจเป็นสิ่งที่มนุษย์พึงกระทำ เพราะเป็นการไม่ปลูกเหตุแห่งการทำลายชีวิตสรรพสัตว์ผู้บำเพ็ญจึง พึงละเว้นจากการปลูกเหตุแห่งหนี้กรรม ถ้ายังก่อเหตุแห่งหนี้กรรมด้วยการทำลายชีวิตสรรพสัตว์ต่อไปก็จะทำให้เจ้า หนี้นายเวรเกิดความอาฆาตแค้นมากยิ่งขึ้น จนในที่สุดทำให้ผู้บำเพ็ญธรรมเองไม่อาจหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้

       หนี้กรรมเก่าในกาลก่อนยังไม่ทันได้ชำระสิ้นกลับเพิ่มหนี้กรรมใหม่ในกาลนี้อีก อันเป็นต้นเหตุให้มีการเกิดและการตาย มีการไปฆ่าเขาบ้างและมีการถูกเขาฆ่าบ้าง หมุนเวียนเป็นวัฏจักรไม่มีที่สิ้นสุด

       อนึ่ง ฟ้าเบื้องบนทรงไว้ซึ่งความเที่ยงธรรม เมื่อเรากินเนื้อเขา 1 ชั่ง ก็ต้องใช้เนื้อคืนให้เขา 16 ตำลึง เป็นแน่ เป็นไปไม่ได้ที่เนื้อ ½ ชั่ง จะเท่ากับ 7.5 ตำลึง (ขาดหายไปครึ่งตำลึง).



อ้างถึง
6.
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว บุญกุศลจะได้มาจากไหน ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

       lQ1 แม้นคำว่า “บุญกุศล” ก็หามีไม่ เพราะการที่เวไนยฯบำเพ็ญธรรมและสร้างบุญกุศล โดยมุ่งหวังแต่จะรอรับผลบุญตอบสนอง ยึดติดในผลบุญจึงส่งผลให้พฤติกรรมที่แสดงออกไม่ได้เกิดจากธรรมชาติของจิตเดิมแท้
       หากเป็นเช่นนี้ก็เป็นเพียงการปลูกสร้างเนื้อนาบุญเพื่อยังผลให้ไปเกิดเป็นเทพยดาบนสวรรค์ชั้นเทวภูมิ หรือผู้มีลาภสักการะในมนุษย์ภูมิเท่านั้น
       เพราะเป็นการกระทำเพื่อหวังผลบุญตอบแทน ผลบุญที่ได้รับจึงมีจำกัด เมื่อเสพบุญกรรมหมดสิ้นก็ต้องกลับลงมาเวียนว่ายต่อไป เปรียบได้ดั่งการยิงธนูขึ้นฟ้า พอแรงหนุนส่งหมดลูกธนูก็ตกลงมาฉันใดก็ฉันนั้น

       คำว่า “บุญกุศล” เป็นเพียงศัพท์ที่บัญญัติขึ้น เพื่อสร้างพื้นฐานในการทำความเข้าใจ ซึ่งที่จริงแล้ว “บุญกุศล” เป็นสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้โดยอาศัยลายลักษณ์อักษรเพราะ “บุญกุศล” เป็นพฤติกรรมธรรมชาติที่แสดงออกจากธรรมญาณเดิมอันบริสุทธิ์ เป็นพฤติกรรมเดิมที่สอดคล้องกับหลักธรรมของฟ้าเบื้องบน

        “บุญกุศล” จะได้มา เมื่อกระทำอย่างไม่เสแสร้งกระทำโดยไม่คำนึงถึงผลบุญที่จะได้รับ เดินตามมัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) อย่างสุขุมเยือกเย็น เช่นนี้จึงเป็น “บุญกุศล” ที่แท้จริง

       ส่วนจิตใจที่คิดแต่จะรอรับผลบุญตอบสนอง ล้วนเป็นจิตที่เกิดจากความเพ้อฝันทั้งสิ้น เพราะมีความเพ้อฝันจึงทำให้โฉมเดิมแห่งธรรมญาณที่บริสุทธิ์ไม่สามารถปรากฏออกมา
       เพราะเวไนยฯ มีทิฐิ เห็นความแตกต่างกันระหว่างอริยะกับปุถุชน จึงมีคำว่า “บุญกุศล” เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จิตใจที่ติดยึดในผลบุญ จึงเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งการเวียนว่ายตายเกิดนั่นเอง.



อ้างถึง
7.
ขอกราบเรียนถามเกี่ยวกับสายทองในวิถีอนุตตรธรรม ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

       lS1 ตั้งแต่โบราณกาลมา วิถีอนุตตรธรรมมีพงศาธรรม (เชื้อสายแห่งธรรม) ที่สืบทอดต่อกันมาระหว่างบรรพจารย์สู่อีกบรรพจารย์อย่างไม่ขาดสาย ผู้มีธรรมย่อมเข้าถึง จิตใครว่างก็ได้รับไป
       ผู้ได้รับ หมายถึง ผู้ที่ได้รับการเบิกจุดญาณทวารจากพระวิสุทธิอาจารย์ กำราบจิตฟุ้งซ่านให้หมดสิ้นไป สำรวมปฎิบัติตามคุณธรรมแห่งธรรมญาณเดิมที่ฟ้าเบื้องบนประทานให้สร้างคุณประโยชน์แก่มนุษยชาติ และประกาศสัจธรรมแทนฟ้าเบื้องบนหากเป็นเช่นนี้ สายทองก็เชื่อมโยงกันได้

       แต่ถ้าไม่ชำระกิเลสภายในให้บริสุทธิ์ กระทำการโดยเห็นแก่ตัว อย่างนี้แม้จะอยู่ร่วมกับพระวิสุทธิอาจารย์ สายทองก็เชื่อมโยงกันมิได้
       ธาตุทอง เป็นสัญลักษณ์ของทิศตะวันตก เป็นโลหะธาตุชนิดเดียวที่มีสีขาวในบรรดาโลหะธาตุทั้ง 5 สีขาวบ่งบอกถึงความสะอาด และความบริสุทธิ์ นั่นก็หมายถึงการกระจ่างแจ้งในความบริสุทธิ์ของสภาวะเดิมแห่งธรรมญาณ

       หลังจากที่เราได้รับวิถีธรรม ได้กระจ่างแจ้งในธรรมญาณเดิมแห่งตนแล้วลำดับต่อไปคือการเข้าถึงมวลเวไนย (ฉุดช่วยให้รับธรรม) ตลอดจนการบรรลุถึงที่สุดของความดี นั่นก็คือ พุทธภูมิ
       วิธีการบำเพ็ญแบบรู้แจ้งโดยฉับพลันสำคัญที่การบรรลุถึง “สุญญภาวะ” ซึ่งหาใช่พิธีการที่มีรูปลักษณ์ไม่ สุญญภาวะคือมรรคาแห่งการหลุดพ้น ส่วนรูปลักษณ์ทั้งปวง คือเหตุปัจจัยแห่งเนื้อนาบุญ

       เมื่อเข้าใจในหลักธรรมนี้แล้วก็ไม่จำเป็นต้องถามเกี่ยวกับสายทอง ขอเพียงระบบขั้นตอนการดำเนินงานธรรม ไม่สับสนวุ่นวาย สายทองก็ยังเชื่อมต่อกัน
       เหตุใดกฎพุทธระเบียบ 15 ข้อ จึงเป็นกฎพุทธระเบียบที่บัญญัติขึ้นเฉพาะกาล สี่งเหล่านี้ควรนำไปพินิจพิจารณาเพราะการพินิจพิจารณาเป็นการ “สำนึกรู้”
        “ผู้สำนึกรู้ คือพุทธะ ผู้ที่ไม่พินิจพิจารณาไม่สำนึกรู้ คือเวไนย” ความแตกต่างระหว่างพุทธะกับเวไนย ก็อยู่ที่สภาพจิตใจเท่านั้นเอง.


อ้างถึง
8.
ผู้ที่ตั้งปณิธานทานเจแล้วผิดต่อปณิธาน ไม่ทราบว่าเบื้องบนจะพิจารณาโทษสถานใด ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

         :lQ1:ฟ้าและดินคงไว้ซึ่งหลักสัจธรรม ตัดสินบาปบุญคุณโทษอย่างเที่ยงธรรม เมื่อตั้งปณิธานทานเจแล้วผิดต่อปณิธาน นอกจากความดีความชอบตาง ๆ ที่เคยสร้างมาเท่ากับสูญเปล่าแล้ว ยังเป็นการทำลายชื่อเสียงของอาณาจักธรรมอีก โทษที่ได้รับ คือตกนรก อย่างไรก็ตาม จะมีการพิจารณาโทษตามสถานหนักเบาจากสาเหตุที่ผิดปณิธาน.


อ้างถึง
9.
ผู้บำเพ็ญธรรมที่ไปกราบไหว้ตามวัดวาอารามต่าง ๆ หรือไหว้เจ้าที่เจ้าทาง มีความเกี่ยวพันกับวิถีอนุตตรธรรมอย่างไร ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

         :lQ4:การบำเพ็ญธรรม เป็นการบำเพ็ญจิต ปุถุชนที่ยังไม่เข้าใจหลักธรรมอย่างถ่องแท้ย่อมหลงไปตามสภาพแวดล้อม น่าเป็นห่วงยิ่งนัก
        การบำเพ็ญธรรม เป็นการบำเพ็ญจิตหล่อเลี้ยงธรรมญาณ กำจัดความคิดฟุ้งซ่าน ส่วนการกราบไหว้ เป็นการแสดงความเคารพและรำลึกคุณต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์
        ในการบำเพ็ญธรรมนั้น ศิษย์อนุตตรธรรมควรปฏิบัติตามพุทธระเบียบอย่างเคร่งครัด อย่าเหยียบเรือสองแคม หรือกราบไหว้สิ่ศักดิ์สิทธิ์อย่างงมงาย
        เพราะฉะนั้น การบำเพ็ญก็คือการบำเพ็ญ การกราบไหว้ก็คือการกราบไหว้ หากความศรัทธาในวิถีธรรมไม่เปลี่ยนแปลง การกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะความเคารพนับถือจะไม่ได้เชียวหรือ.


อ้างถึง
10.
เกี่ยวกับการทดสอบด้านทรัพย์สินเงินทองจะอธิบายอย่างไร ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

        lQ2 การทดสอบด้านทรัพย์สินเงินทอง แบ่งออกเป็นการทดสอบครั้งใหญ่ และการทดสอบครั้งปลีกย่อย
        เกี่ยวกับเงินทำบุญที่ได้รับจากการขอรับวิถีธรรมของเวไนยฯว่าซื่อตรงหรือไม่นั้น เป็นการทดสอบครั้งปลีกย่อย ส่วนทรัพย์สินของอาณาจักรธรรมเป็นการทดสอบครั้งใหญ่
        เมื่อธรรมกิจได้ขยายกว้างไป ทรัพย์สินของอาณาจักรธรรมก็มีมากขึ้น ผู้มีความโลภย่อมคิดอยากได้มาครอบครองจึงเกิดการแก่งแย่งอำนาจและแสวงหาผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน
        ฉะนั้น การช่วงชิงทรัพย์สินของอาณาจักรธรรมจึงจัดเป็นการทดสอบด้านทรัพย์สินครั้งใหญ่.

* พระ-3.jpg (8.46 KB - ดาวน์โหลด 857 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 01, 2011, 09:03:49 PM โดย admin » บันทึกการเข้า
admin
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2011, 05:49:45 PM »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ


อ้างถึง
11.
ศรัทธาแบบมิจฉา เป็นอย่างไร ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

         :lS3:คำว่า “มิจฉา” นั้นตรงกันข้ามกับคำว่า “สัมมา” จิตศรัทธาทั้งมวลที่ไม่ได้บังเกิดจากจิตเดิมแท้อันเที่ยงตรงล้วนเป็นจิต ศรัทธาแบบมิจฉา อาทิ จิตใจที่ฟุ้งซ่านก็ดี ความคิดเพ้อฝันก็ดี ที่อยากเห็นปาฏิหาริย์ก็ดี และจิตใจที่ฝังลึกอยู่กับการหลุดพ้นจากการเกิดการตายเฉพาะตนก็ดี ล้วนเป็นจิตศรัทธาแบบมิจฉาที่โฉมหน้าเดิมแท้ยังไม่ปรากฏทั้งนั้น



อ้างถึง
12.
ศรัทธาแบบโง่เขลา เป็นอย่างไร ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

         :lS4:ผู้ “โง่เขลา” คือผู้ที่ “ไร้ปัญญา” ซึ่งรู้แต่เพียงกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่คิดแสวงหาสัจธรรม และก็ไม่กระจ่างในหลักธรรม อีกทั้งยังไม่รู้ถึงคววามหมายที่แท้จริงของการบำเพ็ญธรรมหลับหูหลับตาคล้อยตามผู้อื่น เป็นความเลื่อมใสที่จัดอยู่ในญาณระดับต่ำ



อ้างถึง
13.
ศรัทธาแบบฉลาดแกมโกง เป็นอย่างไร ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

         :lQ1:ผู้ที่ฉลาดแกมโกง คือ ผู้ที่อาศัยกลอุบายและเล่ห์เหลี่ยมต่าง ๆ เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ไม่แสดงออกซึ่งปัญญาเดิมอันประเสริฐ อาศัยเพียงความเฉลียวฉลาดเฉพาะตน สร้างบุญบังหน้ากระทำได้แม้กระทั่งยืมดอกไม้ของผู้อื่นมาบูชาพระ จึงทำให้ธรรมญาณเดิมแม้ไม่อาจปรากฏได้



อ้างถึง
14.
ศรัทธาแบบเสแสร้ง เป็นอย่างไร ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

         :lQ2:คำว่า “เสแสร้ง” คือ “การแกล้งทำ” ความศรัทธาทั้ง 4 ระดับ ที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นพฤติกรรมที่สะท้อนจากจิตอันจอมปลอม เมื่อไม่ได้เกิดจากพุทธจิต จึงเป็นจิตที่ไม่บริสุทธ์ทั้งสิ้น

        การเสแสร้ง คือ ความไม่จริงใจ เมื่อไม่ใช่จิตแรกแล้ว ก็ย่อมเป็นจิตที่ผ่านการปรุงแต่ง เป็นจิตที่หวังจะอาศัยบารมีธรรมของสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อประโยชน์ส่วนตัว ใช้ความศรัทธาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาบังหน้า และเล่นละครเหมือนดั่งจริงเพื่อหลอกลวงผู้อื่น

        เพราะฉะนั้น ความศรัทธาแบบเสแสร้ง จึงจัดเป็นความศรัทธา ที่มีระดับต่ำที่สุดใน มหาศรัทธาทั้ง 8




อ้างถึง
15.
ศรัทธาแบบกระจ่างแจ้ง คืออะไร ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

         :lQ2:คำว่า “กระจ่างแจ้ง” คือ การรู้แจ้งในหลักธรรมไม่ มีจิตใจที่เป็มิจฉา โง่เขลา ฉลาดแกมโกง และ เสแสร้ง อย่างไรก็ตาม แม้ความศรัทธาแบบกระจ่างแจ้งจะยังไม่ถึงสุดยอดของความดี แต่อย่างน้อยก็เป็นไปตามหลักทำนองคลองธรรม มีความบริสุทธิ์ผุดผ่อง มีกลักการที่ชัดแจ้ง รู้จักรักษาระเบียบวินัยอยู่ในหน้าที่ของตนโดยไม่ออกนอกลู่นอกทาง ไม่ข่มเหงผู้อื่น มีมโนธรรมสำนึกและยึดมั่นตามหลักสัจธรรม เช่นนี้เรียกว่า ความศรัทธาแบบกระจ่างแจ้ง




อ้างถึง
16.
ศรัทธาแบบบรรลุถึง คืออะไร ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

         :lQ3:คำว่า “บรรลุถึง” หมายถึง การเข้าถึงหลักของความเป็นมนุษย์ และเป็นการเข้าถึงโดยอาศัยจิต
        ความศรัทธาแบบกระจ่างแจ้งที่กล่าวมาแล้วนั้นเป็นการกระจ่างแจ้งในธรรมญาณ เดิมแห่งตน ส่วนความศรัทธาแบบบรรลุถึง เป็นการปฏิบัติตนเพื่อเปลี่ยนแปลงตนเป็นคนใหม่ ไม่ผิดต่อเพื่อนมนุษย์ ไม่ผิดต่อหน้าที่การงาน ไม่ผิดต่อคุณธรรมของฟ้าดิน และไม่ผิดต่อสรรพสิ่งมีเพียงจิตที่คิดจะช่วยผู้อื่น เสียสละตนเองเพื่อมนุษยชาติ





อ้างถึง
17.
มหาศรัทธา คืออะไร ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

         :lQ3:คำว่า “มหา” เป็นคำตรงข้ามกับคำว่า “หีน” (ฮีนะ) ซึ่งเป็นความศรัทธาที่พัฒนาสูงขึ้น เหนือกว่าระดับความศรัทธาแบบการะจ่างแจ้ง มีความกลมเกลียวกับเพื่อนบ้านรอบด้านและความศรัทธาระดับนี้ ยังมีความกลมเกลียวสมานฉันท์กับทุกชนชั้น ดังที่กล่าวว่า

“กล่าววาจาออกไปทั่วอาณาจักรโดยไม่ก่อวจีกรรม
ประพฤติ ปฏิบัติทั่วปฐพี โดยไม่ถูกปรักปรำ
ฟ้าดินและสรรพสิ่งยังสามารถสัมผัสในบารมีธรรม
เงยหน้าไม่อายฟ้า ก้มหน้าไม่อายดิน”


เช่นนี้จึงเรียกว่า “มหาศรัทธา”



อ้างถึง
18.
สุดยอดแห่งความศรัทธา คืออะไร ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

         :lQ3:คำว่า “สุดยอด” เป็นสภาวะที่สูงสุด ความศรัทธาระดับนี้ สามารถร่วมคุณธรรมกับฟ้าดิน สามารถร่วมแสงสว่างกับตะวันเดือน สามารถร่วมเกณฑ์การผันแปรของฤดูกาลทั้ง 4 และยังสามาถร่วมความดีร้ายกับเทพ ผี นอกจากนี้แล้ว สุดยอดแห่งความศรัทธายังมีความกลมเกลียวษมานฉันท์ในทุก ๆ เรื่อง และดำรงอยู่เหนือกาลเวลาทั้งในอดีตและในปัจจุบัน

       ดังเช่น คัมภีร์มหาบุรุษ ที่กล่าวว่า “ให้ยุติที่ที่สุดแห่งความดี” หากกระทำได้เช่นนี้ ก็จะบังเกิดรัศมีธรรมที่เปล่งประกายเจิดจ้า ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ” อันเป็นพุทธปฏิปทาอันประเสริฐสุด

        สุดยอดแห่งความศรัทธานี้ ยังมีส่วนร่วมในการอุ้มชูและพัฒนาสรรพสิ่งภายใต้ฟ้าดิน เป็นการพรังพรูออกมาซึ่งสัญชาตญาณเดิมของมนุษย์ที่เรืองรองรุ่งโรจน์ที่สุด


        สัญชาตญาณเดิมนี้ ได้ผสมผสานกลมเกลืนอยู่ในอากาศธาตุทั่วจักรวาล จึงกล่าวได้ว่า ผู้บรรลุสภาวะนี้ ภายในไร้ซึ่งตนเองที่จะฉุดช่วย ภายนอกก็ไร้ซึ่งผู้คนที่ต้องฉุดช่วย พุทธอริยเจ้าเรียกสภาวะนี้ว่า “สภาวะที่ฟ้าดิน และสรรพสิ่งได้ผสานเป็นหนึ่งเดียว”




อ้างถึง
19.
การทานเจมีประโยชน์ต่อการบำเพ็ญธรรมอย่างไร ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

         :lQ4:ประโยชน์ของการทานเจมีมากมายเหลือคณานับแต่จะกล่าวอย่างง่าย ๆ อาทิ
        1.การทานเจทำให้ไม่ค่อยมีโรคภัยไข้เจ็บมาคุกคาม และทำให้มีอายุยืนยาวด้วยเหตุที่มนุษย์เป็นสัตว์ที่บริโภคพืชพันธุ์ธัญญาหาร ร่างกายจึงเหมาะสำหรับทานเจ สังเกตได้จากโครงสร้างฟันของมนุษย์ที่มีลักษณะราบเรียบ จัดเรียงอย่างมีระเบียบเหมือนกับลักษณะโครงสร้างฟันของวัวและแพะซึ่งจัดเป็น สัตว์ที่บริโภคพืชผักเป็นอาหาร

        ส่วนแมวและสุนัขนั้น มีฟันที่แหลมคม จัดเป็นสัตว์ที่บริโภคเนื้อสัตว์เป็นอาหาร
ฉะนั้น เมื่อพิจารณาตามความเหมาะสมของสภาพร่างกาย ประกอบกับโครงสร้างของฟันของมนุษย์แล้ว ก็รู้ได้ว่ามนุษย์ควรรับประทานอาหารประเภทใด

        เฉกเช่นเดียวกับการเลือกใช้น้ำมันรถยนต์ทั่ว ๆ ไปที่ต้องใช้ให้เหมาะกับสภาพของรถยนต์ที่กำหนดไว้ หากรถยนต์ชนิดนี้ กำหนดให้ใช้น้ำมันซุปเปอร์ก็ควรเติมน้ำมันซุปเปอร์ รถยนต์ชนิดนั้นกำหนดให้ใช้น้ำมันดีเซลก็คววรเติมน้ำมันดีเซล การใช้น้ำมันให้ถูกต้องและเหมาะสมตามสภาพของรถ จะทำให้ยืดอายุการใช้งานของรถยนต์ออกไปอีก

        สรุปแล้ว การใช้ชนิดน้ำมันให้ถูกต้องตามสภาพของรถยนต์ มีอิทธิพลต่ออายุการใช้งานของรถยนต์ฉันใด การบริโภคประเภทอาหารให้ถูกต้องก็มีอิทธิพลต่ออายุขัยของชีวิตมนุษย์ฉันนั้น

        2.การทานเจทำให้ไม่ก่อเหตุต้นผลกรรมจากการทำลายชีวิตสัตว์ โลกมนุษย์ คือโลกที่ประกอบด้วยเบญจธาตุ (ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุทอง ธาตุไม้) ที่อยู่ภายใต้วัฏจักรแห่งการตอบสนองของเหตุต้นผลกรรม ปลูกเหตุใดไว้ วัฏจักรของเบญจธาตุก็ผลักดันให้ได้รับในผลนั้นหรือที่เรียว่าผลแห่งกรรม ซึ่งเป็นกฎแห่งจักรวาล

        3.สามารถเสริมสร้างไอแห่งสภาวะหยัง เพราะกายธาตุของสัตว์เดรัจฉานมีสภาวะอิน เมื่อกินเข้าไปก็จะเป็นการสั่งสมไอที่เป็นสภาวะอินในร่างกายมนุษย์
        แต่ทว่า อนุตตรภูมิซึ่งเป็นวิสุทธิภูมิ (แดนบริสุทธิ์) ที่มีแต่ไอของสภาวะหยัง มนุษย์ที่มีจิตญาณห่อหุ้มไปด้วยสภาวะอินจึงเข้าสู่แดนอนุตตรภูมิไม่ได้

        4.ช่วยเสริมสร้างสติปัญญาในการทำงาน การกินเนื้อสัตว์ที่มีสภาวะอิน จะทำให้มีอุปนิสัยรุนแรง และมีอารมณ์ฉุนเฉียวเร่าร้อน ส่วนอาหารเจที่มีสภาวะหยังจะช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพที่อ่อนโยน มีสัมมาคารวะ และรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน




อ้างถึง
20.
ในอาณาจักรธรรม หากมีผู้ที่มีใจออกห่างวิถีธรรมแล้วยังยุยงให้ญาติธรรมแยกตัวจากอาณาจักรธรรม หรือหลอกล่อให้ญาติธรรมไปยังลัทธินอกรีตนอกทาง เช่นนี้เบื้องบนจะพิจารณาโทษอย่างไร ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

         :lQ5:พยายามหาวิธีช่วยเหลือให้ถึงที่สุด ส่วนพวกที่ไม่สามารถช่วยกลับมาได้ “ก็จนปัญญา” เขาเหล่านั้นจะต้องแบกรับผลกรรมด้วยตนเองในอนาคต แม้แต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ไม่อาจช่วยได้

        สำหรับผู้ที่ยุยงให้ญาติธรรมแยกตัวจากอาณาจักรธรรม หรือหลอกล่อให้ญาติธรรมเข้าสู่ลัทธินอกรีตนอกทางนั้น ผลกรรมที่จะได้รับนั้นไม่อาจประมาณได้ แม้นต้องตกลงสู่เดรัจฉานภูมิในอนาคตก็ยากจะชดใช้ผลกรรมที่ก่อได้หมด



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 01, 2011, 06:10:52 PM โดย admin » บันทึกการเข้า
admin
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 01, 2011, 06:25:43 PM »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ


อ้างถึง
21.
วิธีที่ดีที่สุดในการฉุดช่วยคนมารับวิถีธรรมคือวิธีใด ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

         :lS1:วิธีที่ดีที่สุดในการฉุดช่วยคน คือ การฉุดช่วยตนเอง เพราะเหตุที่โลกียชนมีความเฉลียวฉลาด หากนำพาให้มารับวิถีธรรมโดยอาศัยเพียงฝีปากหรือโดยอาศัยคววามผูกพันส่วนตัว ซึ่งวิธีทั้งหลายนี้เป็นธรรมวิถีที่ไม่ได้จัดอยู่ในยาน (พาหนะที่ขนสัตว์ข้ามทะเลทุกข์) ระดับสูง

        ในที่สุด เขาเหล่านั้นก็จะย้อนกลับมาพิจารณาและประเมินคุณค่าของวิถีธรรม โดยจะสังเกตจากความประพฤติและการปฏิบัติตนของผู้ที่จะมาฉุดช่วยเขา ฉะนั้น การบำเพ็ญตัวเราให้ดีก่อนจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการฉุดช่วยคนมารับวิถีธรรม




อ้างถึง
22.
เหตุใด วิถีอนุตตรธรรมจึงลงโปรดสู่โลกมนุษย์ ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

         :lS2:วิถีอนุตตรธรรมลง โปรดสู่โลกมนุษย์ก็เพื่อปลดเปลื้องภัยพิบัติ กอบกู้จิตใจมนุษย์ที่เสื่อมทราม ผลักดันให้โลกเอกภาพแห่งสันติสุขอุบัติขึ้นในเร็ววัน แปรเปลี่ยนโลกโลกีย์ให้เป็นแดนสุขาวดีและให้วิมานเกิดขึ้นบนแดนดิน




อ้างถึง
23.
เหตุใดวิถีอนุตตรธรรมกับภัยพิบัติจึงลงมาพร้อมกัน ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

         :lS3:วิถีอนุตตรธรรมลง โปรดเพื่อฉุดช่วยคนดี และ ให้มนุษย์ได้ประจักษ์แจ้งในโฉมหน้าเดิมแท้แห่งตน ส่วนภัยพิบัติลงมาเพื่อตักเตือนคนชั่วและให้มนุษย์ไม่กล้าทำในสิ่งที่ชั่ว ร้าย



 
อ้างถึง
24.
การทานเจทำให้สำเร็จธรรมได้หรือไม่ ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

         :lS4:การทานเจ ไม่ทำให้สำเร็จธรรม การทานเจเป็นเพียงพื้นฐานของผู้บำเพ็ญธรรม เป็นการไม่สร้างหนี้เวรเพิ่มขึ้นอีก เพราะฉะนั้น นอกจากต้องทานเจแล้ว ยังจะต้องประพฤติ ปฏิบัติตนอย่างจริงจัง ช่วยผลักดันงานธรรมโดยไม่ยึดติดในบุญกุศล เมื่อกระทำสิ่งใดไว้ก็ย่อมได้รับสิ่งนั้นตอบแทนในที่สุด




อ้างถึง
25.
ชาวโลกต่างลือกันว่า ในสมัยที่องค์พุทธะเดินดินบำเพ็ญปฏิบัติธรรมนั้น มีการดื่มสุรา และฉันเนื้อสุนัข อยากทราบว่ามีความเป็นจริงหรือไม่ ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

         :lQ4:การบำเพ็ญปฏิบัติธรรมในโลกโลกีย์นั้น มักมีคำครหานินทามากมาย อนึ่ง เพื่อเป็นการเยาะเย้ยและถากถางผู้บำเพ็ญธรรมที่ไม่รักษาระเบียบวินัยในกาลนั้น จึงได้แกล้งทำจริตดื่มสุราและฉันเนื้อ

        แต่หากมาพินิจพิจารณาให้ดีก็จะรู่ว่า การดื่มสุราและฉันเนื้อ จะสำเร็จธรรมได้อย่างไร แม้กระนั้นข่าวลือในโลกมนุษย์ก็ยังมีอยู่ทั่วไป





อ้างถึง
26.
ผู้บำเพ็ญธรรมคววรเริ่มต้นบำเพ็ญอย่างไร ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

         :lQ1:ผู้บำเพ็ญธรรมควรเริ่มต้นจากการเข้าใจ “จิตใจ” ของตนเองก่อน ต้องหมั่นพินิจพิจารณาว่าจิตใจของตนมีสภาพเป็นอย่างไร เช่น หากมีข้อบกพร่องต้องรีบแก้ไข และขจัดส่วนไม่ดีให้หมดไป หากมีข้อดีก็ควรดำรงรักษาไว้ เช่นนี้เรียกว่า “ย้อนมองส่องตน”





อ้างถึง
27.
การบำเพ็ญปฎิบัติธรรมในเพศของบรรพชิตที่ไม่ครองเรือน จะเหมาะกว่าการบำเพ็ญปฎิบัติธรรมแบบฆราวาสที่อยู่ในครัวเรือนหรือไม่ ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

         :lQ2:ผู้ออกบำเพ็ญและปฎิบัติธรรมใน เพศบรรพชิต เพื่อมุ่งในการหลุดพ้นจากการเกิดตายของมวลเวไนยทั่วหล้า หากไม่บรรลุมรรคผลเป็นพระอริยเจ้า อย่างน้อยก็เป็นถึงปราชญ์เมธี จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดิยิ่ง

        แต่ทว่าการออกบำเพ็ญ และปฎิบัติธรรมในเพศของบรรพชิตเพียงเพื่อต้องการแสวงหาความวิเวก และการหลุดพ้นเฉพาะตนก็ไม่ต่างอะไรกับเวไนยนั่นเอง แม้จะออกบวชก็ไม่มีประโยชน์อะไร

        ลองพิจารณาถึงความเกี่ยวพันด้านเหตุต้นผลกรรมที่ว่าเมื่อได้ฉันอาหารที่ได้ รับจากโยมอุปัฏฐากแล้วจะตอบแทนโยมอุปัฏฐากอย่างไรเล่า โยมอุปัฏฐากถวายอาหารอุปการะเรา เมื่อเราสำเร็จธรรมแล้วโยมอุปัฏฐากจะไปที่ไหนเล่า เช่นนี้ยุติธรรมหรือไม่ ทุกคนลองมาวิเคราะห์ตัดสินด้วยเหตุและผลเถิด

        ด้วยเหตุนี้ หากมีผู้ที่สามารถบำเพ็ญปฏิบัติธรรมเพื่อการหลุดพ้นของมวลเวไนยทั่วหล้าแล้ว ไม่ว่าเขาผู้นั้นจะอยุ่ในเพศของบรรพชิต หรือเพศฆราวาสต่างก็ดิทั้งนั้น

        เพราะการออกบวชที่แท้จริง คือ การบุกเบิกธรรมการเผยแพร่ธรรมและการฉุดช่วยมวลเวไนยให้หลุดพ้นจากทะเลทุกข์กลับคืนสู่ฝั่งนิพพานต่างหาก ส่วนการออกบวชเพื่อตบตาผู้อื่นนั้น เป็นการฉวยโอกาสเพื่อความสุขสบายแห่งตน





อ้างถึง
28.
การบำเพ็ญและปฎิบัติธรรมในเพศของฆราวาสมีประโยชน์อย่างไร ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

         :lQ1:ประโยชน์นั้นมีมากมาย (เพียงแต่จะลำบากกว่าเพศบรรพชิตเล็กน้อยเท่านั้น) อาทิ

        1.สามารถบำเพ็ญปฎิบัติธรรม และยังอยู่ดูแลครอบครัวได้

        2.สามารถบำเพ็ญปฎิบัติธรรมและไม่ต้องอาศัยโยมอุปัฏฐากในการดำรงชีวิต

        3.สามารถบำเพ็ญปฏิบัติธรรม และอุทิศเสียสละตน เพื่อประโยชน์ของมวลมนุษย์ได้

        4.สามารถบำเพ็ญปฎิบัติธรรม และไม่ผิดต่อหลักมนุษยธรรม ซึ่งมีความกตัญญูกตเวทีเป็นพื้นฐาน ทั้งยังมีโอกาสช่วยส่งเสริมสมาชิกในครอบครัว บำเพ็ญปฎิบัติธรรมได้อีก

        5.สามารถบำเพ็ญปฎิบัติธรรม และช่วยพัฒนาประเทศชาติโดยการชำระภาษีอากร และแสดงความจงรักภักดัโดยการรับใช้ชาติบ้านเมืองได้อีก อนึ่ง เราทุกคนต้องทราบาดีว่า ธรรมะไม่ได้อยู่ ณ ดินแดนแสนไกล แต่ธรรมะอยู่ที่การปฎิบัติต่อผู้อื่น ธรรมะอยู่ในตำแหน่งหน้าที่การงาน

       ธรรมะอยู่ที่ตัวเรา ธรรมะอยู่ในครอบครัวของเรา ธรรมะอยู่ในสังคมระหว่างผู้คน และธรรมะอยู่ที่ประเทศชาติบ้านเมือง ฉะนั้น ทุกแห่งทุกหนจึงมีธรรมะดำรงอยู่




อ้างถึง
29.
การบริกรรมพระสูตรมีประโยชน์หรือไม่ ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

         :lQ2:การบริกรรมพระสูตรมีประโยชน์ที่มีขอบเขตจำกัด (การบริกรรมพระสูตรสามารถทำให้กายใจสงบได้ก็จริง แต่ก็ยังจัดอยุ่ในยานระดับต่ำเท่านั้น)

        ผู้ที่บริกรรมพระสูตรย่อมดำรงตนเป็นพุทธศาสนิกชน ผู้ดำรง ตนอยู่ในพุทธศาสนาย่อมไม่ก่อกรรมทำเข็ญ ในเมื่อเขามีความศรัทธาจริงใจ รู้จักสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์และสวดภาวนาพระสูตร นอกจากทำให้จิตใจมีความสงบสุขแล้ว ยังทำให้รู้จักสร้างบุญสร้างกุศลอีก

        ฉะนั้น การบริกรรมพระสูตรจึงมีประโยชน์ต่อวิถีการบำเพ็ญธรรมขั้นพื้นฐานเท่านั้น แต่ทว่าวิธีการบำเพ็ญที่ จัดอยู่ในยานระดับสูงนั้นไม่อาศัยการบริกรรมพระสูตร เพราะการบริกรรมพระสูตรนั้นไม่เทียบเท่าการเทศนาพระสูตรและการเทศนาพระสูตร ก็ไม่เทียบเท่าการปฎิบัติตามหลักธรรมคำสอนในพระสูตร

       จึงควรเอาเวลาที่ใช้บริกรรมพระสูตรมาศึกษาพระสูตรให้กระจ่าง และในที่สุดสามารถเป็นตัวแทนสิ่งศักดิ์สิทธิ์เทศนาหลักธรรมในพระสูตรได้

        นอกจากเป็นการบำเพ็ญตนแล้วยังสามารถกล่อมเกลาผู้อื่นได้อีก เพราะผู้ที่ประสงค์จะประกาศสัจธรรมจำต้องประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ปฎิบัติตามหลักธรรมในพระสูตร จึงกล่าวว่า “การเทศนาธรรมไม่เทียบเท่าการประพฤติปฎบัติตามหลักธรรมในพระสูตร”

        สรุปแล้ว แม้การบริกรรมพระสูตรจะมีประโยชน์แต่ไม่ใช่การบำเพ็ญในยานระดับสูง ยานระดับสูงแห่งพุทธมรรคา คือ การสำนึกปฎิบัติที่เคียงคู่กับหลักธรรมของฟ้าเบื้องบน ฉะนั้นการบำเพ็ญในยานระดับสูงจึงไม่อาศัยการบริกรรมพระสูตร




อ้างถึง
30.
หากผู้บำเพ็ญธรรมไม่ชัดเจนต่อบัญชีทรัพย์สินในอาณาจักรธรรม ไม่ทราบว่าผลจะเป็นอย่างไร ?

พระพุทธจี้กงตอบ :

         :lQ2:ทรัพย์สินในอาณาจักรธรรม เป็นทรัพย์สมบัติของเบื้องบน อย่างคำกล่าวที่ว่า “เงินหนึ่งแดงของเบื้องบนยิ่งใหญ่กว่าเขาพระสุเมรุ” ผลกรรมที่จะได้รับจึงสามารถสันนิษฐานได้ว่าเป็นอย่างไร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 01, 2011, 06:38:49 PM โดย admin » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  ตอบ  |  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

+ ตอบด่วน
 


96 ธรรมคือแรงใจ | ปิ๊งแว๊บ ! ปััญญาแจ่มบรรเจิด | อ่านธรรม | มูลนิธิเมตตาอาทร | เสบียงบุญ | วิถีอนุตตรธรรม |

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความคิดเห็น

1. โปรดงดเว้น การใช้คำหยาบคาย ส่อเสียด ดูหมิ่น กล่าวหาให้ร้าย สร้างความแตกแยก หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
2. ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นเวบบอร์ดโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไปและสมาชิก
ซึ่งทีมงาน 96rangjai มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น และไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้
3. หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป
4. ทีมงาน 96rangjai ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความคิดเห็นนั้น